ตัวแทนจำหน่ายและอู่ติดตั้ง
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 3
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 315
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,750,951
 เปิดเว็บ 11/03/2554
 ปรับปรุงเว็บ 02/03/2567

ความแตกต่างของ CNG กับ LPG
[25 มีนาคม 2554 13:34 น.]จำนวนผู้เข้าชม 7615 คน

ความแตกต่างของ CNG กับ LPG

          พลังงานทางเลือกในกลุ่มก๊าซธรรมชาติสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามการกำเนิดของมัน นั่นก็คือก๊าซ Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG และ Compressed Natural Gas หรือ CNG ซึ่งในประเทศไทยเราจะรู้จักก๊าซชนิดนี้ในนาม NGV (ซึ่งที่จริงย่อมาจากคำว่า Natural Gas for Vehicle)
          LPG หรือ Liquefied Petroleum Gas เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพน (Propane) และบิวเทน (Butane)เป็นส่วนใหญ่ เป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัวเองไม่มีสีไม่มีกลิ่น ดังนั้นกลิ่นของ LPG จะเป็นการแต่งกลิ่นเพิ่มเติมในภายหลังเมื่อใช้เป็นพลังงานจะให้ค่าออกเทนถึง 105RON ก๊าซ LPG มีแรงอัดที่ต่ำ ขณะอยู่ในถังจะมีสถานะเป็นของเหลว มีค่าแรงดัน 100-130 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) หรือประมาณ 4-6 BAR
          แตกต่างจาก CNG ที่คุ้นปากในชื่อ NGV ซึ่งเป๊นก๊าซธรรมชาติที่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดที่มีองค์ประกอบของ ก๊าซมีเทน (Methane) เป็นส่วนใหญ่ ให้ค่าออกเทนสูงถึง 120 RON อยู่ในสถานะก๊าซที่มีแรงดันสูงมาก ๆ ขณะอยู่ในถังจะมีสถานะเป็นก๊าซ มีค่าแรงดันประมาณ 2,200 – 2,800 PSI หรือประมาณ 200 BAR!
          นอกจากความแตกต่างในด้าน “ธรรมชาติของก๊าซ” แล้ว การพิจารณาว่าจะนำ “ก๊าซ” ชนิดใดมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ของเรายังสามารถมองในแง่ของเศรษฐกิจได้ อีกด้วย
          LPG เป็นก๊าซชนิดเดียวกันกับก๊าซหุงต้ม ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยไม่สามารถผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการภาย ในประเทศได้ทั้งหมด จนเริ่มมีการนำเข้าบ้างแล้ว ในขณะที่ก๊าซ CNG ประเทศไทยมีศักยภาพในการขุดเจาะจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศเพื่อนำมาใช้ได้อย่างเพียงพอ ประกอบกับได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ ดังนั้นหากมองเฉพาะจุดแข็งเรื่องราคากันแล้วในระยะยาว CNG น่าจะมีภาษีดีกว่า LPG แต่ปัญหาในระยะสั้นก็คือ ปริมาณสถานีบริการ CNG ยังมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ดังนั้นในระยะสั้น นี่ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกก๊าซสำหรับรถยนต์ของ คุณ แต่ในระยะยาว กับทิศทางนโยบายของภาครัฐแล้ว ก็ไม่แน่ว่าปัญหานี้จะบรรเทาเบาบางลง
          กล่าวโดยสรุปก็คือ หากจะติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ชนิดของก๊าซที่จะเลือกใช้ โดยมีปัจจัยเรื่องแรงอัดที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ราคาค่าติดตั้งเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาในขั้นถัดมา และมีราคาก๊าซในระยะยาวเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจ ระยะสั้น LPG มีความเหมาะสมกว่าหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านค่าติดตั้งที่ถูกกว่า มีปั๊มให้เติมเยอะ สะดวกสบาย ระยะทางต่อถังวิ่งไกลกว่า 3 เท่าตัว แต่มองกันยาวๆ แล้ว CNG จะมีภาษีดีกว่าเพราะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเป็นทางการ อีก 5 ปี 10 ปี น่าจะมีปั๊ม NGV กระจายมากพอ โดยเฉพาะราคาก๊าซจะถูกกว่ามาก และมีการประกาศว่าจะประกันราคากันที่ไม่เกิน 50% ของน้ำมัน

ตารางแสดงการเปรียบเทียบ คุณสมบัติเบื้องต้นของ CNG และ LPG

คุณสมบัติ CNG LPG
ส่วนประกอบหลัก ก๊าซมีเทน ก๊าซ โพรเพน และบิวเทน
สถานะ ก๊าซ แรงดัน 200 บาร์ เป็น ก๊าซแต่ถูกเก็บในรูปของเหลว แรงดัน 7 บาร์
น้ำหนัก เบากว่าอากาศ ไม่สะสมเมื่อรั่วไหล หนัก กว่าอากาศ สะสมเมื่อรั่วไหล
ช่วงการติดไฟ (% โดยปริมาตร) 5-15% 2.0-9.5%
อุณหภูมิติดไฟ 650 °C 481 °C
ค่าความร้อน 35,947 BTU/กก. 26,595 BTU/ลิตร
ค่าออกเทน RON*1 120 105
ค่าออกเทน MON*2 120 97
*1 RON (Research Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่บ่งบอกประสิทธิภาพการต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ที่ทำงานอยู่ในรอบต่ำ โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 600 รอบต่อนาที
*2 MON (Motor Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่บ่งบอกประสิทธิภาพการต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ในขณะทำงานที่รอบสูง โดยใช้เครื่องยนต๋ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 900 รอบต่อนาที

ที่มา : บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

[ +zoom ]
ความแตกต่างของ CNG กับ LPG
- การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ใช้ก๊าซ [25 มีนาคม 2554 13:34 น.]
- ท่านควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อเมื่อรถยนต์ใช้ก๊าซเกิดอุบัติเหตุ [25 มีนาคม 2554 13:34 น.]
- ความแตกต่างของ CNG กับ LPG [25 มีนาคม 2554 13:34 น.]
ดูทั้งหมด

Engine by MAKEWEBEASY